
ช่วงนี้ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับคาปาซิเตอร์ เลยอยากจะบอกต่อข้อมูลที่ได้มาครับ เเบบไม่ลงลึกนะครับ เรื่องเสียงผมจะข้ามไปนะครับ เพราะเป็นประเด็นมาตั้งเเต่พระเจ้า 3 เหา ยังไม่มีเหาเลย 555 ไปลองกันเองนะ ต้องบอกว่าค่าของคาปาซิเตอร์หลักๆมีส่วนต่อโทนเสียงเมื่อมีการปรับลดโทน เเต่ถ้าเปิดสุดตลอดจะเเทบไม่มีผลนะครับ (มีเเต่น้อยมาก)
เเล้วตัวเลขมีผลต่อเสียงอย่างไร? ตอบคือ ยิ่งค่าเยอะยิ่งทำให้ทุ้มเยอะเมื่อลดโทนลง เมื่อใช้ 0.047 uF เเล้วลดโทนเสียงจะทึบกว่า 0.022uF เมื่อลดโทน นั้นอาจจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมสตรัทเเละเทเลรุ่นเก่าๆ นิยมใช้คาปาค่า 0.047uF เพราะว่าเสียงของกีตาร์ มันเเหลมอยู่เเล้วจึงค่าสูงๆให้เสียงทุ้มขึ้น ส่วนกีตาร์ปิ๊กอัพฮัมบัคเกอร์ เช่น เลสพอล เสียงมันทุ้มอยู่เเล้วจึงไม่ต้องทุ้มลงไปอีก จึงนิยมใช้ 0.022uF เเละยังมีค่า 0.015, 0.033 หรือ 0.1 ที่นิยมใช้กัน (0.01 uF หรือ 1pF เห็นใช้ในเฟนเดอร์ Original) ตอนนี้พี่น้องคงได้ไอเดียเเล้วว่าค่าของคาปาซิเตอร์ มีผลยังไงกับโทนนะครับ ถ้าเกิดเราอยากจะให้โทนกีตาร์ของเรามีโทนเสียงที่ทุ้มเยอะ หรือทุ้มไม่เยอะ ตอนลดโทนก็สามารถเลือกใช้ ค่าคาปาซิเตอร์ตามที่ต้องการได้เลย คงอยากรู้เเล้วใช่ไหมว่า เวลาจะเลือกเอาค่าคาปาซิเตอร์มาใส่ เราจะรู้ได้ไง ว่าค่ามันเท่าไหร่? ตัวอย่างค่าเเละตัวหนังสือเอามาจากคาปาซิเตอร์ Orange drop ตัวส้มๆนะครับ . ตัวที่ผมมีมีตัวหนังสือตามนี้ "SBE715P200V" "473J - 0818" . "SBE715P" จะเป็นรหัสซีรี่ย์ของคาปาซิเตอร์นี้ "200V" เเปลว่าคาปาซิเตอร์ทนเเรงดันไฟฟ้าได้ 200 โวลท์
เเละค่าที่สำคัญคือ "473J" ซึ่งจะบอกค่าที่คาปาเก็บประจุได้สำหรับกีตาร์คือตัวที่จะบอกว่า เวลาลดโทนเสียงกีตาร์เราจะลงทุ้มลงขนาดไหน . ค่า "473J" คือรหัสของค่าเก็บประจุวิธีคิดเป็น uF เเบบที่เราคุ้นเคยคิดเเบบนี้ ตัวที่หนึ่ง (4) จะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สอง (7) จะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สาม (3) จะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป(หรือตัวคูณก็ได้) หน่วยที่ได้จะเป็นพิโกฟารัด เสมอ
เขียนออกมาได้ 47 x 10 ยกกำลัง 3 หรือ 47 x 10 x 10 x 10 = 47000 คิดเป็น uF (ไมโครฟารัด) 47000 หาร 1.000.000 เท่ากับ "0.047uF" หรือเลื่อนจุดทศนิยมไปข้างหน้า 6 หลัก เท่านี้ก็จะได้ค่าที่เราคุ้มเคยเเล้วครับ เป็นไง งงไหม? ฮาาๆๆ ผมก็งงๆเหมือนกันครับ ต่อมา "J" เป็นค่าเปอร์เซ็นต์การคลาดเคลื่อน (Tolerance) คือค่าบนคาปาอาจจะมีคลาดเคลื่อนไป เเต่เท่าไหร่ก็เเล้วเเต่ตัวหนังสื้อ "J" เท่ากับ + - 5% ยังไงลองดูในตารางว่าตัวหนังสืออะไรเเปลว่าอะไร

ส่วนค่าสุดท้าย "0818" เป็นสัปดาห์เเละปีที่คาปาซิเตอร์ตัวนี้ผลิตขึ้นมา เท่ากับสัปดาห์ที่ 18 ของปี 2008 คราวนี้ก็รู้เเล้วนะครับพี่น้อง ว่าค่าของคาปาซิเตอร์ อ่านยังไง จะได้เลือกไปใช้งาน ได้ถุกต้องตามความต้องการนะครับ Treble Bleed มีอีกอย่างที่อยากเเนะนำคือ ถ้าใครอยากจะเอาคาปาซิเตอร์ ไปติดที่พอตโวลุ่มเพื่อทำเป็น treble bleed (treble bleed เพื่อเเก้ไขปัญหาเวลาลดโวลุ่ม เเล้วย่านเสียงเเหลมหายตามไปด้วย การใส่ treble bleed ทำให้เสียงเเหลมยังคงอยู่) ควรจะใช้ค่าที่น้อยๆมากนะครับ เช่น ประมาณ 0.001uF ลงไป เพราะถ้าสูงกว่านี้ ย่านเสียงทุ้มจะมาด้วยนะ
CR.กีต้าร์ริท